หลักการ เชื่อมโลหะ ด้วยแก๊สอะเซทิลีน
กรรมวิธีการ เชื่อมโลหะ ด้วยแก๊สออกซีอะเซทิลีน เป็นกรรมวิธีการเชื่อมโลหะแบบหลอมเหลว โดยใช้ความร้อนจาก เชื้อเพลิงซึ่งเป็นแก๊สผสมระหว่างแก๊สอะเซทิลีนกับแก๊สออกซิเจนบริสุทธิ์เปลวไฟจากการ เผาไหม้จะเกิดความร้อนในปริมาณสูง ทำให้ชิ้นงานหลอมเป็นเนื้อเดียวกัน โดยที่ลวดเชื่อมจะเติมหรือไม่เติมก็ได้ขึ้นอยู่กับความหนาของงานและชนิดของรอยต่อ ดังแสดงในรูป
แสดงถึงหลักการเชื่อมโลหะด้วยแก๊สออกซีอะเซทิลีนแบบไม่เติมลวด
แสดงถึงหลักการเชื่อมโลหะด้วยแก๊สออกซีอะเซทิลีนแบบเติมลวด
1.1 ชนิดของแก๊สเชื้อเพลิงและค่าความร้อนสูงสุด
แก๊สเชื้อเพลิงมีหลายชนิดถ้าผสมกับออกซิเจนแล้วจะให้ความร้อนที่สูงขึ้นกว่าการเผาไหม้ปกติ สำหรับในอุตสาหกรรมการเชื่อมโลหะด้วยแก๊สนั้น แก๊สผสมระหว่าง
แก๊สออกซิเจนกับแก๊สอะเซทิลีน เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะให้ค่าความร้อนสูงกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น ดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 แสดงชนิดของแก๊สเชื้อเพลิงและค่าความร้อนสูงสุด
ชนิดของแก๊สเชื้อเพลิง |
ความร้อนสูงสุดโดยประมาณ |
|
ออกซิเจน + อะเซทิลีน ออกซิเจน + ไฮโดรเจน โพรเพน + ออกซิเจน มีเทน + ออกซิเจน อากาศ + อะเซทิลีน อากาศ + โพรเพน |
3,480 0C หรือ 6,300 0F |
1.2เปลวไฟในการเชื่อมโลหะด้วยแก๊สออกซีอะเซทิลีน
การเชื่อมแก๊สเป็นกรรมวิธีการเชื่อมโลหะที่ใช้กันมานาน ซึ่งในปัจจุบันก็ยังได้รับความนิยมกันแพร่หลาย ความร้อนจากการเผาไหม้ระหว่างแก๊สออกซิเจนและแก๊สอะเซทิลีน ให้เปลวไฟที่มีความร้อนสูงประมาณ 6,300 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 3,480
องศาเซลเซียส เพียงพอที่จะทำให้โลหะแต่ละชนิดหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อเย็นตัวลงโลหะสองชิ้นจะติดกันมีความแข็งแรงเท่ากับหรือมากกว่าเนื้อโลหะเดิม เปลวไฟที่ใช้สำหรับเชื่อมจะมีองค์ประกอบ ดังนี้
1.2.1 สมบัติของเปลวไฟ
เปลวไฟที่ใช้ในการเชื่อมโลหะด้วยแก๊สออกซีอะเซทิลีนจะต้องมี สมบัติดังนี้
1.2.1.1 มีอุณหภูมิสูงเพียงพอที่จะหลอมละลายชิ้นงาน
1.2.1.1 มีปริมาณความร้อนเพียงพอเมื่อต้องการ
1.2.1.3 ต้องไม่มีสิ่งสกปรกจากเปลวไฟ หรือนำวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้ามารวมตัวกับเนื้อโลหะที่หลอมละลาย
1.2.1.4 เปลวไฟต้องไม่เพิ่มธาตุคาร์บอนลงในเนื้อโลหะซึ่งจะทำให้ คุณสมบัติของโลหะเปลี่ยนไป
1.2.1.5 เปลวไฟต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานในทางเคมี
1.2.2 ชนิดของเปลวไฟ
เพื่อให้มีความเหมาะสมกับโลหะงานแต่ละชนิด เปลวไฟในการเชื่อม จึงแบ่งออกเป็น 3 ชนิดดังนี้
1.2.2.1 เปลวลดหรือเปลวคาร์บอนมาก ( Caburizing Flame )
เป็นเปลวที่ได้จากการเผาไหม้ของแก๊สออกซิเจนและแก๊สอะเซทิลีนผสมกัน โดยมีปริมาณของแก๊สอะเซทิลีนมากกว่าแก๊สออกซิเจน เปลวชั้นนอก มีลักษณะเป็นเปลวยาวมีสีส้มล้อมรอบเปลวชั้นใน ซึ่งมีความยาวครึ่งหนึ่งของเปลวชั้นนอก เปลวชั้นในจะมีลักษณะพริ้วเหมือนขนนก ในระยะที่ห่างจากกรวยไฟประมาณ 3 มม. จะมีอุณหภูมิ 5,700 องศาฟาเรนไฮต์ ( 2,800 0C ) การเผาไหม้จะมีแก๊สอะเซทิลีนเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง จึง เหมาะสำหรับเชื่อมงานที่ต้องการเติมคาร์บอนที่ผิวโลหะ หรือเชื่อมโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก ซึ่งต้องใช้อุณหภูมิในการหลอมไม่สูงมากนัก เช่นอะลูมิเนียม แมกนีเซียม และใช้ในการบัดกรีแข็ง โดยมีลักษณะของเปลวดังแสดงในรูปที่ 21
ลักษณะของเปลวลด
1.2.2.2 เปลวกลาง ( Neutral Flame )
เป็นเปลวที่ได้มาจากการผสมกันระหว่างแก๊สออกซิเจนกับอะเซทิลีนในอัตราส่วน 1:1 การเผาไหม้สมบูรณ์ ประกอบด้วยเปลวไฟ 2 ชั้น ชั้นในเป็นกรวยปลายม ระยะห่างจากปลายกรวยประมาณ 3 มม. จะมีอุณหภูมิประมาณ 6,000 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 3,150 องศาเซลเซียส (3,150 0C) เมื่อนำ เปลวไฟนี้ไปเผาโลหะที่เป็นเหล็กจะหลอมละลายเป็นบ่อน้ำโลหะคล้ายน้ำเชื่อมเมื่อเย็นลงจะได้แนวเชื่อมที่สะอาดมีความแข็งแรง เปลวไฟชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับการเชื่อมและตัดโลหะ โดยเฉพาะเหล็ก เนื่องจากการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ จึงไม่เกิดการเติมธาตุคาร์บอนลงในรอยเชื่อม ดังแสดงในรูปที่ 22 และ 23
ลักษณะของเปลวกลาง
1.2.2.3 เปลวเพิ่มหรือเปลวออกซิเจนมาก (Oxidizing Flame)
เป็นเปลวไฟที่ได้มาจากการผสมกันระหว่างแก๊สออกซิเจนกับแก๊สอะเซทิลีนโดยปรับให้ออกซิเจนมากกว่าอะเซทิลีน ลักษณะเปลวมี 2 ชั้น เปลวชั้นในเป็นรูปกรวยแหลมหดสั้น เปลวนี้มีอุณหภูมิสูงกว่าเปลวอีก 2 ชนิด ที่กล่าวมาคือ มีอุณหภูมิประมาณ 6,300 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 3,480 องศาเซลเซียส เมื่อทำการเชื่อมจะเกิดประกายไฟหรือสะเก็ดไฟกระเด็นออกมาจากบ่อหลอมเหลว ทำให้เกิดฟองอากาศไม่เหมาะสมที่จะนำไปใช้เชื่อมเหล็ก เพราะการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์จะมีออกซิเจนหลงเหลืออยู่และจะถูกเติมลงในเนื้อเหล็ก ทำให้แนวเชื่อมเปราะ แต่นิยมนำไปใช้ในการตัดโลหะแผ่นบาง ดังแสดงในรูปที่ 24
แสดงลักษณะของเปลวเพิ่ม
ซื้อ เครื่องเชื่อมแก๊ส ECO SAVER PN220
อ้างอิง http://www.supradit.in.th/contents/metal/Data/3/3.html