ชนิดของ เปลวไฟเชื่อมแก๊ส
เปลวไฟเชื่อมแก๊ส แต่ละชนิด จะให้ความร้อนที่แตกต่างกันออกไป เพราะมีปริมาณของแก๊สที่เข้ามารวมตัวกัน ในอตัราส่วนผสมที่แตกต่างกัน สำหรับเปลวไฟในการเชื่อมแก๊สออกซีอะเซทิลีนเป็นเปลวที่ให้อุณหภูมิสูงถึง 3,315 ํC(6,000ํ ํF) ซึ่งความร้อนขนาดนี้หลอมโลหะในงานอุตสาหกรรมได้โดยง่าย จึงนิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมโดยทั่วไป เปลวไฟที่ใช้แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้
เปลวคาร์บูไรซิง(Carburizing Flame)
เป็นเปลวที่เกิดขึ้นจากการจุดแก๊สอะเซทิลีนและในขณะที่เปิดแก๊สออกซิเจนเข้าไปผสมจะได้เปลวคาร์บูไรซิ่ง ซึ่งเป็นเปลวไฟที่มีแก๊สอะเซทิลีนมากกว่าแก๊สออกซิเจน เปลวไฟจะมีลักษณะเป็นกรวยไฟ 3 ชั้น โดยกรวยไฟชั้นนอกสุดมีลักษณะเป็นเปลวยาวสีส้มอ่อน เป็นส่วนที่เกิดปฏิกิริยาเผาไหม้สมบูรณ์ล้อมรอบกรวยไฟชั้นที่สองซึ่งเป็นส่วนของแก๊สอะเซทิลีนที่เหลือจากการเผาไหม้จะเป็นตัวกำหนดขนาดของเปลวคาร์บูไรซิง เปลวไฟชนิดนี้การเผาไหมจ้ะมีแก๊สอะเซทิลีนเหลืออยู่จึงไม่ควรเชื่อมในห้องหรือบริเวณที่อับอากาศ เพราะอาจเกิดอันตรายได้เปลวคาร์บูไรซิงมีอุณหภูมิประมาณ 3,150 ํC (5,700 ํF) ไม่เหมาะแก่การเชื่อมเหล็กกล้าเพราะจะเป็นการเติมคาร์บอนบริเวณผิวโลหะ ทำให้แนวเชื่อมเปราะและในขณะเชื่อมบ่อหลอมเหลวของโลหะจะเดือดและขุ่นมัว ส่วนเปลวคาร์บูไรซิงอ่อนๆ จะใช้ในการเชื่อมอะลูมิเนียมและการบัดกรี
แสดงลักษณะของเปลวคาร์บูไรซิง
เปลวนิวทรัล (Neutral Flame)
เปลวนิวทรัลเหมาะแก่การเชื่อมโลหะเกือบทุกชนิดประกอบด้วยกรวยไฟ 2 ชั้น กรวยไฟชั้น ในเป็นกรวยมนสีขาวนวลให้อุณหภูมิประมาณ 3,315 ํC (6,000 ํF) เป็นเปลวที่มีการเติมธาตุต่างๆให้แก่แนวเชื่อม บ่อหลอมเหลวของโลหะจะมีลกัษณะนิ่มและใส การสันดาประหว่างแก๊สออกซิเจนกับแก๊สอะเซทิลีนสำหรับเปลวนิวทรัลแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 เป็นการสันดาปของเปลวชั้นใน ที่ได้รับแก๊สออกซิเจนกับแก๊สอะเซทิลีน
ออกจากปลายหัวทิพในอตัราส่วน 1 : 1 ดังสมการเคมี
2 C2H2 + 2 O2 = 4 CO + 2 H2
ซึ่งประกอบด้วยแก๊สอะเซทิลีน 2 ส่วน กับออกซิเจน 2 ส่วนขั้นที่ 2 เป็นการสันดาปของเปลวชั้น นอกที่ห่อหุ้ม เปลวชั้น ใน โดยเปลวชั้น นอกเกิดขึ้นจากการสันดาปของส่วนที่เหลือจากการสันดาปของเปลวชั้นใน คือ คาร์บอนมอนอกไซด์กับไฮโดรเจนจะสันดาปกับออกซิเจนในบรรยากาศภายนอก ดังสมการเคมี
4 CO + 2 O2 = 4 CO2
คาร์บอนมอนอกไซด์ ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์
2 H2 + O2 = 2 H2O
ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไอน้ำ
เปลวนิวทรัลใช้แก๊สออกซิเจนกบัแก๊สอะเซทิลีนในอตัราส่วน 1:1 เมื่อมีการเผาไหม้
ที่สมบูรณ์แล้วจะมีส่วนที่เหลือคือคาร์บอนไดออกไซด(์CO2) กบั น้า (H2O) ดังสมการเคมี
2 C2H2 + 5 O2 = 4 CO2+ 2 H2O
อะเซทิลีน ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์น้ำ
หมายเหตุ จากสมการเคมีได้แก๊สอะเซทิลีนจากหัวทิพ 2 ส่วนและแก๊สออกซิเจน 2 ส่วน สำหรับ
แก๊สออกซิเจนอีก 3 ส่วน ได้จากบรรยากาศภายนอก
แสดงลักษณะของเปลวนิวทรัล
เปลวออกซิไดซิง (Oxidizing Flame)
เป็นเปลวที่มีแก๊สออกซิเจนมากกว่าแก๊สอะเซทิลีนมีกรวยไฟ 2 ชั้น โดยกรวยไฟชั้นในเป็นรูปกรวยแหลม กรวยไฟชั้นนอกสีเขียวอมน้ำเงิน มีอุณหภูมิประมาณ 3,480 ํC(6,300 ํF) ไม่เหมาะสำหรับเชื่อมเหล็ก เพราะจะเกิดการเติมออกซิเจนแก่เหล็กมีผลทำให้แนวเชื่อมเปราะความแข็งแรงต่ำบริเวณแนวเชื่อมมีความแข็งเพิ่มขึ้นและบ่อหลอมเหลวเป็นฟอง ใช้เชื่อมเหล็กหล่อและการบัดกรีแข็ง
แสดงลักษณะของเปลวออกซิไดซิง
l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l
ที่มา http://sar.udontech.ac.th/
ดูสินค้า GAS SAVER ได้ที่ infinixgas.com/product/eco-saver/